เผยแพร่แล้ว: มี.ค. 25, 2019
 
   
 
  คำสำคัญ:
  ความพึงพอใจในงาน
  การคงอยู่ในงาน
  โรงพยาบาลปทุมธานี
 
   
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 

 

 
   
 
 
 
    Language
 
      English  
      ภาษาไทย  
 
 
    Information
 
      สำหรับผู้อ่าน  
      สำหรับผู้แต่ง  
      สำหรับบรรณารักษ์  
 
 
    Home ThaiJo
 
   
 
 
 
    Manual
 
      For Author  
      For Reviewer  
 
 
    เว็บไซต์
 
      โรงพยาบาล
    เจริญกรุงประชารักษ
 
      www.ckphosp.go.th  
 
 

 

     
 
 
     
     
 

ปัจจัยทำนายการคงอยู่ในงานของพยาบาลวิชาชีพกลุ่มวัย วาย ที่โรงพยาบาลระดับตติยภูมิแห่งหนึ่ง
ในจังหวัดปทุมธานี

 
     
     
 
ปฐมา ธรรมชัยภูมิ
พยาบาลวิชาชีพปฏิบัติการ สำนักงานเทศบาลตำบลบางพูน กระทรวงมหาดไทย
สมพันธ์ หีญชีระนันทน์
รองศาสตราจารย์ อาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์หลัก คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยคริสเตียน
สุคนธ์ ไข่แก้ว
รองศาสตราจารย์ อาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์ร่วม คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยคริสเตียน


บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยทำนายการคงอยู่ในงานของพยาบาลวิชาชีพกลุ่มวัย วาย ได้แก่ อายุ ระยะเวลาในการปฏิบัติงาน  และความพึงพอใจในงาน


วิธีการดำเนินการวิจัย: เป็นการวิจัยเชิงบรรยาย (descriptive research) กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ พยาบาลวิชาชีพกลุ่มวัย วาย คือ พยาบาลวิชาชีพ  ที่เกิดในระหว่าง พ.ศ. 2521 - 2540 ที่ปัจจุบันมีอายุ 20 - 39 ปี มีประสบการณ์ในการทำงานมากกว่า 1 ปี เลือกกลุ่มตัวอย่างแบบ (purposive sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถาม ประกอบด้วย ข้อมูลปัจจัยส่วนบุคคล ได้แก่ อายุ ระยะเวลาในการปฏิบัติงาน ความพึงพอใจในงาน การคงอยู่ในงาน โดยใช้สถิติเชิงพรรณา (descriptive statistic) ค่าคะแนนเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการศึกษาความสัมพันธ์ อายุ ระยะเวลาในการปฏิบัติงาน ความพึงพอใจ และการคงอยู่ในงาน ใช้ความสัมพันธ์ของตัวแปร 2 ตัว (Pearson’s product moment correlation) และวิเคราะห์ตัวแปรหลายตัวแปรเพื่อทำนายปัจจัยทำนาย (multiple regression analysis) การวิเคราะห์ถดถอยพหุแบบขั้นตอน (stepwise)


ผลการวิจัย: ข้อค้นพบจากการวิจัยนี้พบว่า ปัจจัยทำนายการคงอยู่ในงานของพยาบาลวิชาชีพกลุ่มวัย วาย ได้แก่ อายุ  ระยะเวลาในการปฏิบัติงาน และความพึงพอใจในงาน พบว่า อายุ ระยะเวลาในการปฏิบัติงาน และระดับความพึงพอใจ มีอิทธิพลในทางบวกต่อการคงอยู่ในงาน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ เมื่อพิจารณาจากค่า R-square แล้วพบว่า ระดับความพึงพอใจ อายุ และ ระยะเวลาในการปฏิบัติงาน โดยรวมสามารถทำนายระดับการคงอยู่ในงานได้ ร้อยละ 92.3 และ p<0.05, r = 0.961, adjusted R-square = 0.922, R-square = 0.923,  f = 584.981


สรุป: จากผลการศึกษาครั้งนี้ พบว่า การทำนายการคงอยู่ในงานของพยาบาลวิชาชีพกลุ่มวัย วาย พบว่า อายุ ระยะเวลาในการปฏิบัติงาน และระดับความพึงพอใจ มีอิทธิพลในทางบวกต่อการคงอยู่ในงาน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) เมื่อพิจารณาจากค่า R-square แล้วพบว่า อายุ ระยะเวลาในการปฏิบัติงาน และความพึงพอใจในงาน โดยรวมสามารถทำนายระดับการคงอยู่ในงานได้ ร้อยละ 92.3


คำสำคัญความพึงพอใจในงาน  การคงอยู่ในงาน  โรงพยาบาลปทุมธานี

 
     
     
     
 
   ฉบับ  

    ปีที่ 14 ฉบับที่ 2 (2018): กรกฎาคม - ธันวาคม 2561

 
 
     
     
 
   บทความ  
    Original Article  
 
     
     
     
 

References

1. ศรีศุภรักษ์ สวนแก้ว. ปัญหาการขาดแคลนพยาบาลวิชาชีพก่อให้เกิดการสูญเสียทางเศรษฐกิจและ
คุณภาพบริการสุขภาพ; 2553. เข้าถึงได้จาก https://www.tcithaijo.org/index.php/TJONC/
article/download/2735/2436. เข้าถึงเมื่อวันที่ 22 มกราคม 2560.

2. สุมิตร ขาวประภา. ความสัมพันธ์ระหว่างความผูกพันต่อองค์การกับประสิทธิผลของโรงเรียนใน
สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสกลนครเขต 1. [ครุศาสตรมหาบัณฑิต].สาขาวิชาการบริหาร
การศึกษาบัณฑิตวิทยาลัย, สกลนคร: มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร; 2550.

3. Cowin LS. The effects of nurses' job satisfaction on retention: an Australian perspective. Journal
Nursing Administration 2002; 32: 283-91.

4. Meyer JP, Allen NJ. A three-component conceptualization of organizational commitment: Human
resource management review 1991; 1(1): 61-89.

5. ปริศนา ใจบุญ, ประสิทธิ์ เชียงนางาม และปิยธิดา คูหิรัญญรัตน์. สัดส่วนและสาเหตุการลาออกของ
พยาบาลที่ปฏิบัติงานในโรงพยาบาลศรีนครินทร์คณะแพทยศาสตร์มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
ศรีนครินทร์เวชสาร. 2554; 26(3): 233-8.

6. วรรษพร อากาศแจ้ง. ปัจจัยที่ส่งผลต่อความตั้งใจลาออกของคนเก่งในระบบราชการ. วารสารการจัดการ
มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์. 2556; 2(2): 47-58.

7. บุญใจ ศรีสถิตย์นรากูร.ภาวะผู้นำและกลยุทธ์การจัดการองค์การพยาบาลในศตวรรษที่ 21. พิมพ์ครั้งที่2.
กรุงเทพมหานคร:โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2551.

8. วรรณี วิริยะกังสานนท์. ปัจจัยที่มีผลต่อการคงอยู่ของพยาบาลวิชาชีพในโรงพยาบาลเอกชน แห่งหนึ่งใน
กรุงเทพมหานคร. [พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต]. สาขาวิชาการบริหารการพยาบาล กรุงเทพมหานคร:
มหาวิทยาลัยคริสเตียน; 2556.

9. Herzberg F, Mausner B and Snyderman BB. The Motivation to Work .(2nd ed.). New York:
JohnWiley;1959.

10. จันทร์จิรา แดงน้อย. ปัจจัยทำนายการคงอยู่ในงานตามการรับรู้ของพยาบาลวิชาชีพในโรงพยาบาล
เอกชนแห่งหนึ่ง กรุงเทพมหานคร. [พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต]. สาขาวิชาการบริหารการพยาบาล
กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยคริสเตียน; 2559.

11. สุรีย์ ท้าวคำลือ. ปัจจัยคัดสรรที่ทำนายความตั้งใจที่จะอยู่ในงานของพยาบาลวิชาชีพ โรงพยาบาลเอกชน
เขตกรุงเทพมหานคร. [พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต]. สาขาวิชาการบริหารการพยาบาล กรุงเทพมหานคร:
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2549.